เเนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเเละร้านค้าเซรามิคในจังหวัดลำปาง

พิพิธภัณฑ์เซรามิคธนบดี


          พิพิธภัณฑ์เซรามิคธนบดี ก่อตั้งโดย นายพนาสิน ธนบดีสกุล ทายาทรุ่นที่ 2 ของนายอี้ (ซิมหยู) แซ่ฉิน วัตถุประสงค์ของการตั้งพิพิธภัณฑ์ก็เพื่อรักษาเกียรติประวัติของอาปาอี้ (ซิมหยู) แซ่ฉิน ต้นตระกูลธนบดีสกุล ผู้ค้นพบแร่ดินขาวและก่อตั้งโรงงานเซรามิคแห่งแรกของลำปาง ซึ่งได้รวบรวมเรื่อง ราวและตำนาน  "ชามไก่แห่งธนบดี" หนึ่งเดียวที่ยังคงอนุรักษ์ประวัติศาสตร์แห่ง ความภาคภูมิใจให้สมกับที่ลำปางเป็น เมืองแห่งเซรามิคของ ประเทศไทยภายในพิพิธภัณฑ์แสดงถึงประวัติของบริษัทในเครือธนบดี ต้นกำเนิดชามไก่ต้นกำเนิดเซรามิคของเมืองลำปางและสาธิต การผลิตชามไก่แบบโบราณรวมถึงสามารถชมกระบวนการผลิตเซรามิคสมัยใหม่ได้อย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นการอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเซรามิคและศิลปะให้กับผู้ที่สนใจ นอกจากนี้ พิพิธภัณฑ์เซรามิคธนบดี ยังคงความเป็น เอกลักษณ์เฉพาะเป็นต้นฉบับและเป็นต้นกำเนิดชามไก่ของนครลำปาง ซึ่งมีโบราณสถานที่ทรงคุณค่าที่อยู่ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็น เตามังกรโบราณ ชามตราไก่จิ๋ว ชามตราไก่ที่ยังคงผลิตและวาดลวดลายแบบดั้งเดิมไว้เป็นอย่างดี มีการแสดงนิทรรศการ เกี่ยวกับต้นกำเนิดชามตราไก่ ที่ถือเป็นศิลปะและวัฒนธรรมเชิงวิถีชีวิต ชุมชนที่งดงาม และบ่งบอกถึงความหลากหลายที่สืบทอดกันมา เนิ่นนานจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ พิพิธภัณฑ์เซรามิคธนบดียังเป็นแหล่งรวบรวมของข้อมูลที่เหมาะเป็นสถานที่การเรียนรู้ทุกระดับ ในเชิงประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม อีกด้วย
ที่อยู่: เลขที่ 32 ถนนวัดจองคำ ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 52000

บรรยากาศภายในของพิพิธภัณฑ์ธนบดีเซรามิค

อินทราเอาท์เลท


          อินทราเอาท์เลทเป็นศูนย์จำหน่ายเครื่องเซรามิกของบริษัทอินทราเซรามิกจำกัด มีข้าวของเครื่องใช้และของตกแต่งบ้านตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าเหรียญสิบบาทไปจนขนาดใหญ่มากๆ ทั้งหมดทำจากเซรามิก และที่พิเศษคือไม่ได้เป็นเฉพาะที่วางของขายเท่านั้น มีมุมสวยๆ ให้ถ่ายรูปมากมายหลายมุม โดนใจมากๆ คนที่ชอบดอกไม้ก็มีสวนดอกไม้ให้เดินถ่ายจนเพลิน แล้วยังมีผลงานเด่นๆ ให้ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกได้อีกต่างหาก อย่างหลักกิโลยักษ์ทำจากเซรามิก ปิรามิดกาน้ำ ชามไก่ยักษ์ รถม้าลำปาง ฯลฯ
           สินค้าเอกลักษณ์ชามไก่หรือชามตราไก่มีต้นกำเนิดมาจากมณฑลกวางตุ้งของจีน จะประกอบด้วย ไก่บนต้นหญ้า ต้นกล้วย และดอกโบตั๋น เริ่มผลิตในลำปางเมื่อ พ.ศ.2480 โดยชาวจีนที่เข้ามาตั้งรกรากในไทยจนกลายเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดลำปางมาจนทุกวันนี้
อินทราเอาท์เลทมี 3 สาขา
-ศูนย์ใหญ่อยู่ที่ ถ.วชิราวุธดำเนิน กม.1 (ถนนลำปาง-แพร่) อ.เมืองลำปาง เปิดทุกวัน 9.00-17.30 น. โทร.054 315 591-2
-สาขาห้างฉัตร  อยู่ตำบลปงยางคก เปิดทุกวัน 9.00-17.30 น. โทร.054 268 794-5 
-สาขาหอนาฬิกา อยู่เยื้องโรงเรียนเทศบาล 4 ใกล้หอนาฬิกา เปิด 10.00-19.00 น. โทร. 054 222 482
บรรยากาศภายในอินทราเอาท์เลท

หมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิค


          หมู่บ้านท่องเทียวเซรามิค-เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิกเต็มรูปแบบเพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนในท้องถิ่น กระจายรายได้สู่ชุมชน สอดรับกับที่ “ลำปางเมืองต้องห้ามพลาด ที่ไม่หมุนตามกาลเวลา” นำไปสู่ การท่องเที่ยวโดยชุมชน อย่างยั่งยืน ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ พร้อมเชิญผู้ประกอบการนำเที่ยวและสื่อมวลชนจากส่วนกลาง เข้าร่วมสัมมนาลงพื้นที่ ดูแหล่งท่องเที่ยว ให้คำแนะนำ ตั้งข้อสังเกต แก่คนในชุมชน นำไปเตรียมความพร้อมในการเปิดเป็น “หมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิก” (OTOP Tourism Village)
          ที่เลือก บ้านศาลาเม็ง – บ้านศาลาบัวบก ให้เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว หมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิก อ.เกาะคา นั้นเพราะว่าทั้งสองหมู่บ้านมีความพร้อมที่จะเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ สามารถเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงได้ เช่นวัดพระธาตุลำปางหลวง ที่เป็นสัญญาลักษณ์ของจังหวัดลำปาง วัพระแก้วดอนเต้า อดีตเคยประดิษฐานพระแก้วมรกตถึง 500 กว่าปี วัดเจดีย์ซาวหลัง ที่มีเจดีย์ศิลปะล้านนาผสมพม่าถึง 20 องค์ โดยคนในชุมชนรวมกลุ่มกันได้ดีมีความเข้มแข็ง มีทั้งกลุ่มผู้ผลิตเซรามิก กลุ่มร้านอาหาร กลุ่มจักรสาน กลุ่มขายของฝาก กลุ่มโฮมสเตย์ มีความพร้อมที่จะเปิดเป็น หมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิก (OTOP Tourism Village) เพื่อพัฒนาศักยภาพของคนในท้องถิ่น กระจายรายได้สู่ชุมชน ให้สอดรับกับที่ ลำปางเมืองต้องห้ามพลาด ที่ไม่หมุนตามกาลเวลา นำไปสู่ การท่องเที่ยวโดยชุมชน อย่างยั่งยืนได้
ที่อยู่:หมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิก ศาลาเม็ง – ศาลาบัวบก ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัด
ลำปาง


บรรยากาศภายในหมู่บ้าน

สถานที่ท่องเที่ยวเเละร้านค้าเซรามิคที่อื่นๆ
-เซรามิคเลิฟเวอร์ ที่อยู่: 1016 ถ.อุปราช ตำบล สวนดอก อำเภอเมืองลำปาง ลำปาง 52000
-มีลาภ เซรามิค ที่อยู่: ตำบล ปงแสนทอง อำเภอเมืองลำปาง ลำปาง 52100
-เจเจเซรามิค ที่อยู่: ถนน ลำปาง-แม่ทะ อ.เมือง อำเภอเมืองลำปาง ลำปาง 52000

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีการทำเซรามิค

ประวัติความเป็นมาของเซรามิคลำปาง

วัตถุดิบในการทำเซรามิค